วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

ปฐมวัยของไทย

การศึกษาปฐมวัยเป็นการเตรียมความพร้อมของเด็กตั้งแต่แรกเกิด ทั้ทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
ดังเนื้อหาใน ที่มา http://advisor.anamai.moph.go.th/download/newchall/ThaiChild.pdf

การเรียนการสอบแบบเฟรอเบล



วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเฟรอเบล

วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเฟรอเบล

 
วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเฟรอเบล :)
วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเฟรอเบล (Froebelian Mode)
                เฟรอเบลเน้นการจัดประสบการณ์การศึกษาอนุบาลในภาพรวมนับแต่การจัดสิ่งแวดล้อม การจัดตารางเวลากิจกรรมประจำวัน การจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับเด็กในชั้นเรียนทั้งที่เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหว ดนตรี ขับร้อง สำหรับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่นำเสนอต่อไปนี้จะเน้นเฉพาะช่วงกิจกรรมวงกลม ซึ่งเป็นช่วงการเรียนรู้เนื้อหาสาระจากชุดอุปกรณ์ ประกอบด้วยการเตรียมและการดำเนินการ
                การเตรียม
                ครูผู้สอนต้องประเมินพัฒนาการของเด็ก ความสนใจของเด็ก และความพร้อมในการเรียนด้วยการสังเกตเด็ก แล้วจึงมาเตรียมชุดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก พร้อมออกแบบประสบการณ์และกิจกรรมสำหรับเด็ก จากนั้นวางแผนขั้นตอนการสอนด้วยการเล่นชุดอุปกรณ์เป็นลำดับ
                การดำเนินการ
ขั้นนำ เริ่มกิจกรรมการสอนด้วยการทำให้เด็กสงบ อาจเป็นการร้องเพลง กิจกรรมคำคล้องจอง เป็นต้น เมื่อเด็กพร้อมจึงเริ่มการเรียน
ขั้นสอน ครูบอกจุดประสงค์การเรียน แล้วเสนอชุดอุปกรณ์ที่จะให้เด็กนำไปเล่นและสร้างสรรค์ผลงานตามความสนใจ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์และแผนที่วางไว้ ครูจะไม่เข้าไปจัดการเด็กในขณะทำกิจกรรมการเรียน แต่สร้างบรรยากาศให้เป็นการเล่นอย่างธรรมชาติ
ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกัน เมื่อเรียนจบแล้วเด็กสามารถไปทำกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ ที่จัดเตรียมไว้อีก เช่น ศิลปะสร้างสรรค์ ฟังนิทาน ร้องเพลง หรือกิจกรรมเคลื่อนไหว เป็นต้น
                ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญ เฟรอเบลมีการพัฒนาตารางกิจกรรมวันขึ้นมาเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาครอบคลุบทุกด้าน ทั้งร่างกาย  จิตใจ อารมณ์   สังคม จากแนวคิดนี้ได้เป็นต้นแบบของตารางกิจกรรมประจำวันของการศึกษาอนุบาลในปัจจุบัน ที่เฟรอเบลจะให้เด็กนั่งเป็นวงกลมร้องเพลงแล้วเล่นชุดอุปกรณ์ ปัจจุบันเรียก กิจกรรมวงกลม ส่วนกิจกรรมสร้างเสริมสุนทรีและเพลิด ได้แก่ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง และเกมการศึกษา แต่ละวันครูจะจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับบรรยากาศและสภาพความต้องการของเด็ก
การประเมินผล
                 การประเมินผลการเรียนของเฟรอเบลเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่พัฒนาไปตามลำดับ ชุดอุปกรณ์ จุดเน้นสำคัญของเฟรอเบลอยู่ที่การเรียนอย่างมีความสุข เป็นธรรมชาติ เพราะเฟรอเบลเชื่อว่า การเล่นคือสื่อสร้างการเรียนรู้และเข้าใจภายในด้วยตัวของเด็กเองที่เป็นไปตามกลไกชีวิต เด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมือมีความพร้อมที่จะเรียนด้วยการเล่นและการมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
                การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเฟลอเบลเป็นเรื่องของการจัดการศึกษาอนุบาลทั้งระบบ ตั้งแต่การสอนหลักสูตร เนื้อหาที่เด็กต้องเรียนรู้ การเตรียมครูและการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการสอนเด็ก บรรยากาศของเรียนรู้เน้นเป็นธรรมชาติ ความเพลิดเพลิน ความเป็นอิสระในการเล่นและการเรียนรู้ โดยมีครูเป็นผู้จัดวางจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเป็นแบบแผน สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมีความหมายกับเด็กเป็นอย่างมาก  โรงเรียนของเฟรลเบลประกอบด้วยสวนที่สวยงาม มีสนาม มีมุมของเล่น ที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นได้ตามความสนใจ มีบริเวณสำหรับทำกิจกรรมเคลื่อนไหว ดนตรี หรือแม้แต่กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งลักษณะการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเฟรอเบลนี้ ก็คือ รูปแบบของการจัดสิ่งแวดล้อมโรงเรียนอนุบาลในปัจจุบัน

ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/502912

การสอนแบบเฟรอเบล

 การเรียนการสอนแบบเฟรอเบล (Froebelian Model)
ต้นแบบอนุบาล
“เด็กเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการการพัฒนาให้งอกงามทั้งสติปัญญาร่างกาย จิตใจและสังคม การจัดการศึกษาที่ดี ต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เต็มศักยภาพในทุกด้านอย่างมีความหมาย”
แนวคิดพื้นฐาน
       เฟรอเบล นักการศึกษาชาวเยอรมันและผู้นำการศึกษาอนุบาล ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาอนุบาล” เฟรอเบล เชื่อว่า เด็กมีความสามารถสำหรับสิ่งดีงามและความรู้มาตั้งแต่เกิด การเรียนที่ดีต้องให้เด็กมีประสบการณ์ที่เด็กสามารถได้เล่น ได้แสดงออก ได้ค้นหาสืบเสาะ ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กนั้นต้องสะท้อนระดับพัฒนาการ ความสนใจการเรียนรู้ด้วยการลงมือกะทำอย่างเข้าใจของเด็กอย่างชัดเจน เด็กควรได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน โดยเฉพาะการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ดีสำหรับเด็กคือ การเล่น
การเรียนการสอน
            ชุดอุปกรณ์หรือ Gifts เป็นชุดอุปกรณ์ที่เฟรอเบลพัฒนาขึ้นสำหรับการสอนเด็กปฐมวัย เป็นหัวใจสำคัญของสื่อการสอนและแบบเรียนสำหรับเด็ก ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้ จำนวน 10 ชุด จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการรับรู้ความเหมือน ความสัมพันธ์ ความเกี่ยวเนื่อง และความหลากหลายให้กับเด็กด้วยการคิดอย่างมีเหตุผล (Cromwell, 1994: 6-7)
             การงานอาชีพ หรือ Occupations เป็นกิจกรรมเสริมการเรียนชุดอุปกรณ์ที่เฟรอเบลกำหนดขึ้น เพื่อให้การเรียนการสอนเด็กครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน มีหลากหลายเช่น พับกระดาษ ฉีกกระดาษ ถักทอ ร้อยลูกปัด วาดภาพ ปั้นดินน้ำมัน สานริ้วกระดาษ เป็นต้น ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนนี้ ยังประกอบไปด้วยการร้องเพลง เต้นรำ การเคลื่อนไหว การเล่นเกมที่สร้างความสนุกสนานให้กับเด็ก โดยเฉพาะการเล่นถือว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กสูงสุด (Read,et. Al., 1993:183)
หลักการสอน
    การเรียนการสอนแบบเฟรอเบล เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เด็กได้เล่นและเรียนรู้จากการเล่นและร้องเพลง โดยใช้อุปกรณ์การเล่นแบบชุดอุปกรณ์ และกิจกรรมการงานอาชีพ หลักการสอนที่สำคัญคือ
1.  ครูต้องมีแผนการสอน ครูต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ชุดอุปกรณ์และกำหนอกิจกรรมการงานอาชีพ ให้สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน แล้วเปิดโอกาสให้เด็กลงมือเล่นกับอุปกรณ์อย่างอิสระตามธรรมชาติ โดยครูเป็นผู้สังเกตพร้อมให้การสนับสนุนการเรียนรู้
2.   ครูต้องสอนระเบียบเมื่อเล่นเสร็จแล้ว เด็กต้องเก็บชุดอุปกรณ์ที่เล่นเข้าที่ให้เป็นระเบียบ เด็กจะได้เรียนรู้การมีระเบียบจากการเก็บชุดของเล่นนี้ เฟรอเบลกล่าวว่า “การกระทำที่เป็นระเบียบ เป็นทางนำไปสู่การคิดที่เป็นระเบียบด้วย” (Gordon and Browne,1993:10)
     นอกจากการเล่นชุดอุปกรณ์ ครูต้องจัดกิจกรรมการงานอาชีพและกิจกรรมนันทนาการอื่นๆ เสริม เพื่อสร้างสุนทรีวิจักษ์และการเรียนความเป็นมนุษย์ ชีวิต และคุณงามความดีด้วย เพราะชุดอุปกรณ์ที่เฟรอเบลสร้างขึ้นจะเน้นการส่งเสริมความเข้าใจหยั่งรู้เท่านั้น ซึ่งการพัฒนาเด็กต้องครอบคลุมถึงจิตใจ อารมณ์ สังคม และคุณธรรมด้วย
      การพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้จากง่ายไปยาก จากธรรมชาติของเด็กไปสู้การเรียนรู้ที่พึงปรารถนา โดยมีครูเป็นผู้แนะแนว และสนับสนุนให้เด็กเกิดภาวะสร้างสรรค์ รู้จักสัมพันธภาพทางสังคม
หลักการสำคัญของการจัดการเรียนการสอนต้องมีอย่างน้อย 6 ประการ ดังนี้
  1. เด็กสัมผัสการเรียนรู้ด้วยความสุข
  2. เด็กได้สังเกตอย่างเรียนรู้โดยมีครูแนะนำสนับสนุน
  3. เด็กเกิดภาวะสร้างสรรค์ จากากรคิดในการปฏิบัติกิจกรรม                    
  4. เด็กเกิดพัฒนาจิตนิยมจากกิจกรรมการงานอาชีพ เช่น การเล่นเสรี การร้องเพลง การรู้จักเก็บของเข้าที่ เป็นต้น
  5. เด็กรู้จักการเข้าสังคมที่ถูกต้อง จากการเล่นหรือการเรียนร่วมกับเพื่อนๆและฝึกการมีวินัยจากการทำกิจกรรมประจำวัน
  6. เด็กเพิ่มพูนการพัฒนาพุทธิปัญญา เช่น การนับ การวัด การเปรียบเทียบ การจำแนก จากกิจกรรมการเล่นปนเรียนของเด็กที่ครูจัดสรรและกำหนดแผนมาอย่างเป็นระบบ
ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/502921